วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการสร้างเเอนิเมชั่น




ขั้นตอนการสร้างเเอนิเมชั่นAnimation Process 
posted on 14 Nov 2007 13:50 by mika-chai  in Tips-And-Tutorials
ขั้นตอนการสร้าง การ์ตูนเคลื่อนใหว(อนิเมชั่น)
บทความประมาณนี้ผมเองก็ได้เขียนไปหลายๆเวปบอร์ดเหมือนกัน แต่ทุกครั้งที่เขียนข้อมูลก็จะแน่นขึ้นเรื่อยๆเพราะงั้นครั้งนี้อาจจะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่เขียน แต่ก็ดีกว่าที่เขียนก่อนหน้า. ทั้งนี้ขั้นตอนหลักๆทั้งหมดก็ใกล้เคียงกัน
อนิเมชั่นคือการนำถาพมาซ้อนกันให้เกินการเคลื่อนใหวขึ้น ส่วนกี่ภาพต่อ 1 วินาทีก็แล้วแต่สตูดิโอกำหนด. หลายๆคนชอบคิดว่าคนที่วาดการ์ตูนได้ก็น่าจะวาดภาพเคลื่อนใหวได้สิ อันนี้เป็นความเชื่อที่ผิด คนที่วาดการ์ตูนไม่จำเป็นต้องวาดภาพเคลื่อนใหวได้ และในทางกลับกัน คนวาด ภาพเคลื่อนใหวก็ไม่จำเป็นต้องวาดการ์ตูนได้เช่นกัน, อยากให้เข้าใจกันใหม่ เหตุผลที่ทำให้เข้าใจผิดเพราะพื้นฐานนั้นเหมือนกัน คือการวาด.
ก่อนที่เราจะมาเริ่มการสร้าง อนิเมชั่น นั้น เราต้องมีการวางแผนก่อน ไม่ว่า เนื้อเรื่อง, เสียง, อุปกร์ณการวาด, โปรแกรม ที่ใช้งานในการตัดต่อ. ทำไมต้องวางแผน ต้องเตรียมการ? หากมีการเตรียมการ จะเป็นการสะดวกทำให้เรารู้ว่าจะทำอะไรต่อเป็นขั้นๆไป
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหนังหรืออนิเมชั่น ต้องรู้ไว้ก่อนเลยว่า ไม่สามารถทำเสร็จในขั้นตอนเดียว โปรแกรมเดียว ต้องมีการนำมาผสมผสานกันด้วย.
1. IDEA - ความคิด แนวคิด
ขั้นตอนแรกในการทำเลยคือ คิด คิดว่าจะทำเรื่องอะไร ทำยังไง จบยังไง น่าสนใจยังไง ขนาดที่จะทำ ขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องสนใจเทคนิกในการสร้าง เพียงแค่ระดมความคิดต่างๆเอามารวมกัน แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องเขียนทุกอย่าง เขียนแค่ตัว หลักๆ ใว้

2.1 STORY - เนื้อเรื่องหลังจากได้แนวความคิดตอนนี้ก็มาเขียนเนื้อเรื่อง โดยเอาแนวคิดหลักๆมาขยายความ ในการเขียนเนื้อเรื่องตอนนี้ก็เหมือนกับเขียนนิยาย คิอไม่ใช่มีแต่เนื้อเรื่อง ต้องมีบทพูดด้วยเช่นกัน ไล่เป็นฉากๆ บทๆ ไป ขั้นตอนนี้ เอกสารจะเป็น แค่ ตัวอัก`ษรเท่านั้น. เพิ่มเติม บ.อนิเมชั่นที่ญี่ปุ่น การนำการ์ตูนเอามาทำอนิเมชั่นเค้าก็เขียนบทขึ้นมาใหม่อีกรอบโดยมี เนื้อเรื่องในการ์ตูนเป็นพื้นฐาน. พอได้เนื้อเรื่องก็จะนำเอามาให้ทีมงานอ่านกันเพื่อแก้ไข ไม่ว่าจะเป็น คำพูด เนื้อเรื่อง ว่าเหมาะสมกับกลุ่มมั้ย ไม่ใช่สักแต่ว่าเขียนไป.
2.2 STORY BOARD - สตอรี่บอร์ด
นำเนื้อเรื่องที่ทำการเรียบเรียง มาให้ทีมงานอ่านกัน เพื่อเอาไปเขียนสตอรี่บอร์ด, คนที่เขียนสตอรี่บอร์ดไม่จำเป็นต้องมีแค่คนเดียว แบ่งงานเป็น ฉากๆไป. ขั้นตอนนี้นั้น คือการนำเอาเนื้อเรื่องมาวาดเป็นภาพ มาเรียงต่อกันเป็นฉากๆ แล้วเอามาแปะใว้บนที่บอร์ด(ถึงเรียกว่า สตอรี่บอร์ด). แล้วเอามาเขียนมาแก้กันเพิ่มมุมมองฉากใหน แก้มุมใหน ขั้นตอนนี้จะสำคัญเพราะมีผลสืบเนื่องถึงขั้นตอน วาด อนิเมชั่น ถ้าทำไม่ดี จะเป็นปัญหาอย่างมาก.

3 AUDIO and SOUND - เสียง
เมื่อเอาสตอรี่บอร์ดมาเรียงกันเป็นหนังอย่างหยาบๆ (หรือที่คนเรียกกันอย่างหรูว่า อนิเม-ทริก ความละเอียดตรงนี้ขึ้นอยู่กับตอนวาดสตอรี่บอร์ดว่าละเอียดขนาดใหน)แล้วเอามาอัดเสียง ไม่ว่าจะเสียงพาค์ย เสียงเอฟเฟค เสียงฉากหลัง ทำให้หมด. มันจะเป็นการง่ายมาก หากเราทำเสียงแล้ว มาวาดให้ตรงกับเสียง มากกว่า ทำเสียงให้ตรงกับภาพ.
4. ANIMATE - วาดรูปเคลื่อนใหวเมื่อได้เสียงเราก็นำเสียงมาดูความยาว ตามช่วงเวลา เพื่อนำมาวาด. ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความ อดทน กับ ความมุ่งมั่น ในการทำเพราะเรื่องที่มีความยาว ครึ่งชั่วโมง ก็ต้องวาด 3000 รูปโดยประมาณ. ทั้งนี้ในการวาดในขั้นนี้ ต้องอาศัยการศึกษาและเทคนิกต่างๆ ไม่ว่าจะตัดเส้น ลงสี หรือ การเคลื่อใหวของสถานที่และตัวละคร.

5. EDIT - แก้ไขหลังจากวาดอนิเมชั่นแล้ว ตัวหนังยังแยกกันเป็นส่วนๆ ในขั้นตอนนี้จะนำมาต่อรวมกัน เพื่อเป็นหนังใหญ่. แล้วต้องนำมาดูกันเพื่อ พิจารณาว่า ทั้งเนื้อเรื่องดูลงตัวมั้ย ต้อง ตัดฉากใหนออก. ในขั้นตอนนี้มีหนังอนิเมชั่นไม่น้อย ที่ต้องตัดออกไป 3-4 ฉาก เพื่อความลงตัว ให้เหมาะสม.
6. FINAL OUTPUT - การผลิดขั้นสุดท้าย
เมื่อ หนัง ทั้งเรื่อง เสร็จเป็นอันที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็สู่การนำไปแสดงหรือเผยแพร่. ตรงนี้ขึ้นอยู่กับผู้จัดทำว่าจะเอาไปทำอะไร(ที่คิดใว้ในขั้นตอนที่ 1 แนวคิด) ส่วนมากคือการนำงานไปเสนอตาม บ. ต่างๆเพื่อ นำไป เผยแพร่ หรือ นำไปผลิต ก็ตามแต่ นโยบายของผู้จัดทำ.

เพิ่มเติม
ความละอียด และ ขนาด นั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพราะการนำไปใช้เพื่อทำอะไรนั้น ขนาดจะไม่เท่ากัน อย่าง ฉายในจอเงิน จอแก้ว ในเวป หรือ แม้แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์.
ขั้นตอนทั้งหมดนี้อาจจะไม่สำคัญถึงขนาดคอขาดบาดตาย แต่ว่า ขั้นตอนทั้งหมดนั้นจะช่วยในการ ทำงานให้เร็วขึ้นเป็นอย่างมาก ขนาดที่ว่า เกือบครึ่งนึงของเวลาทั้งหมด เลยทีเดียว.

วิดีโอเเอนิเมชัน




วิดีโอ


เเบบ 2มิติ






เเบบ 3มิติ




เเบบ drawn animation








ความหมายของ ANIMATION (แอนิเมชัน)

แอนิเมชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตัวอย่างแอนิเมชันของเครื่องจักรรูปทรงวงกลม
แอนิเมชัน (อังกฤษanimation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง
การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในการคำนวณสร้างภาพจะเรียกการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์หรือ คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน หากใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด หรือ สตอปโมชัน (stop motion) โดยหลักการแล้ว ไม่ว่าจะสร้างภาพ หรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่า ภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา
ในทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบแอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต มีหลายรูปแบบไฟล์เช่น GIF APNG MNG SVG แฟลช และไฟล์สำหรับเก็บวีดิทัศน์ประเภทอื่นๆ


ตัวอย่างแอนิเมชัน

[แก้]

แอนิเมชันแสดง 6 เฟรมต่อเนื่องกัน
เมื่อนำมาฉายต่อเนื่องกันจะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว
Animexample.gif
ตัวอย่างแอนิเมชันนี้ เคลื่อนด้วยความเร็ว 10 เฟรมต่อวินาที
Animexample2.gif
แอนิเมชันนี้ เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 2 เฟรมต่อวินาที

อุปกรณ์ของเหล่าแอะนิเมเตอร์ [แก้]

อุปกรณ์ในการนำมาสร้างแอนิเมชั่นนั้นถ้าไม่นับคอมพิวเตอร์ ก็จัดว่าค่อนข้างมีราคาสูงและหายากเลยทีเดียว ซึ่งแตกต่างกับความสามารถซึ่งนับว่าจำเป็นสำหรับการทำงานเป็นอย่างมาก ถึงแม้ในปัจจุบันจะมี Teblet ที่นักแอะนิเมเตอร์ในไทยทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่สำหรับต้นฉบับ หรือในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น อเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน นักแอะนิเมเตอร์เหล่านั้นยังคงพูดกันว่า อุปกรณ์หลักๆในการทำงานก็ยังคงเป็นกระดาษ ดินสอ และ โต๊ะไฟ เพียงแต่มี Teblet หรือ เมาส์ปากกาเป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาช่วยในการทำงานขั้นตอนสุดท้ายก่อนการตัดต่อได้เร็ว





ประวัติความเป็นมาของแอนิเมชั่น [แก้]

แอนิเมชั่นนั้นมีต้นกำเนิดมานานแล้ว จะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้มีการค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งในภาพวาดมีการวาดการเคลื่อนไหวของขาทั้งสี่ข้าง ในยุคต่อมา 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงยุคของฟาโรห์รามาเศสที่สองได้มีการก่อสร้างวิหารเพื่อบูชาเทพีไอซิสโดยมีการวาดรูปการเคลื่อนไหวของเทพีไอซิสต่อเนื่องกันถึง 110 รูป จนกระทั่งถึงยุคกรีกโรมัน เมื่อดูจากภาพที่ปรากฏบนคนโทแล้ว จะเห็นว่าเป็นภาพต่อเนื่องของการวิ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ระบบ RFID




ระบบ RFID




ระบบ RFID คือ   
ปัจจุบันเทคโนโลยี RFID (Radio-frequency identification) ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนในเมืองอย่างแพร่หลาย อย่างเช่น หลายคนอาจเคยยืมหนังสือจากห้องสมุด เคยใช้บัตรผ่านประตูเข้าหอพัก  หรืออาคารสำนักงานต่างๆ จะพบว่ามีการตรวจสอบข้อมูลเพียงแค่นำอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ไปใกล้บริเวณที่กำหนดเท่านั้น ก็สามารถตรวจสอบข้อมูล หรือยืนยันตัวตนได้แล้ว  เทคโนโลยีนี้เรียกว่า RFID ค่ะ หลายคนอาจจะงงว่าเทคโนโลยีนี้คืออะไร วันนี้เราก็เลยจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวเทคโนโลยี RFID ให้คุณผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจกันค่ะ
       เทคโนโลยีRFID เป็นระบบที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูล ทำงานคล้ายกับ Smart Card หรือ Barcode แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เนื่องจากในระบบ Smart Card นั้นจะต้องทำการสัมผัสโดยตรงระหว่างตัวเก็บข้อมูลกับเครื่องอ่าoบัตร ส่วน Barcode เองก็ต้องทำการหันเข้าหาเครื่องอ่านข้อมูลเช่นกัน แต่ในระบบ RFID นั้น ตัวบัตรสามารถอยู่ห่างจากเครื่องอ่านได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับเครื่องอ่านแต่ อย่างใด ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งสัญญาณของระบบ RFID นั้นจะใช้คลื่นวิทยุ (RFID ย่อมาจาก “Radio Frequency IDentification” ) เป็นสื่อนำในการส่งสัญญาณ โดยจะมีการใช้ไอซีไมโครชิพขนาดเล็กติดไว้ในบัตร ป้าย หรือฉลาก ซึ่งในไมโครชิพจะมีการระบุข้อมูลที่จำเป็นไว้ และส่งสัญญาณออกมาด้วยความถี่ที่กำหนดไปยังเครื่องอ่านข้อมูล RFID
   
  องค์ประกอบของระบบ RFID นั้นมีอยู่ด้วยกันสองส่วน ได้แก่
 - RFID Tags หรือแผ่นป้ายระบุข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการส่งสัญญาณเพื่อระบุข้อมูลแก่เครื่องรับสัญญาณ มีขนาดเล็ก ประกอบด้วยแผงวงจรขนาดเล็กและเสาอากาศขนาดเล็กแบบไดโพล ที่ฝังอยู่ในบัตร หรือ ป้ายที่ใช้ระบุข้อมูล
 - เครื่องอ่านสัญญาณ (RFID Reader) เป็นส่วนที่เอาไว้รับสัญญาณจาก RFID Tags มีทั้งแบบติดตั้งอยู่กับที่และแบบพกพา ประกอบด้วยภาครับและส่งสัญญาณวิทยุ ส่วนควบคุมและเสาอากาศ ความถี่ที่สร้างจะเท่ากับความถี่ที่  RFID Tags ตอบสนองได้ โดยเมื่อสัญญาณกระทบกับ RFID Tags ก็จะมีการส่งสัญญาณกลับมา เพื่อนำสัญญาณนั้นแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอลและส่งไปประมวลผลต่อไป

3G



3G

ระบบ 3G คืออะไร / เทคโนโลยี 3G หมายถึง / ความเร็ว 3G

เทคโนโลยี 3G พัฒนามาจากอะไร ระบบ 3G คืออะไร และมี ความเร็ว เท่าไร

ระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น

สำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+

HSDPAนั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )
HSUPAจะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps
HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbps

สำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้า

ข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard แบบที่รองรับ 3G คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลก จะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐานคือ 850 , 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้

คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ True
คลื่นความถี่ ( band ) 900 จะถูกพัฒนาโดย AIS (ใช้ชั่วคราวที่เชียงใหม่ และ Central World)
คลื่นความถี่ ( band ) 2100 กำลังรอ กทช. ทำการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่
คลื่นความถี่ ( band ) 1900 และ 2100 จะถูกพัฒนาโดย TOT

ดังนั้นการเลือกซื้อ AirCard , Router หรือ โทรศัพท์มือถือ และต้องการให้รอบรับ 3G ควร check ให้ดีก่อนว่าสามารถรองรับได้ทั้ง 3 คลื่นหรือเพียงบางคลื่นเท่านั้น

wifi



Wifi





WIFI คืออะไร
 ในปี 2003 เป็นต้นไปเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมาแรงแบบสุดๆ อย่างหนึ่งก็คือ WiFi ซึ่งคำถามแรกของผู้ที่ได้ยินคำนี้ ก็ต้องถามเป็นเสียงเดียวกันว่าแล้ว WiFi มันคืออะไรกันนะ ? รู้จักแต่คำว่าไวไฟ ที่เขียนท้ายรถบรรทุกน้ำมัน

จากอดีต
ก่อนที่เราจะมาพูดถึงว่า Wi-Fi มันคืออะไรนั้น เราลองมาทำความเข้าใจกัน เล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องระบบ Network สักนิด การที่ คอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง จะมาเชื่อมต่อกัน เพื่อประโยชน์ในการแชร์ ข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือเอามาแชร์ Internet เพื่อใช้งาน แบบประมาณว่า ต่อ Internet เพียงแค่เครื่องเดียว เครื่องอื่นๆที่อยู่ในเครือข่ายก็สามารถใช้งาน Internet ได้ด้วย ซึ่งการต่อเชื่อม คอมพิวเตอร์ หลายๆเครื่องเข้าด้วยกันนี้ แต่เดิมนั้นเราจะใช้สาย Lan ต่อเข้ากับ Lan card ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่องเพื่อจะเชื่อมเข้าหากัน ซึ่งการต่อแบบใช้สายนี้ มันมีค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก แต่จะยุ่งยากหน่อย ก็ตรงที่ในบ้านเรา หรือใน office ที่เราจะเชื่อมต่อนั้น จะต้องเรียกช่างมาเดินสาย Lan เหมือนกับเดินสายไฟ ภายในบ้าน ซึ่งมันก็วุ่นมากทีเดียว หากเป็นบ้านที่มีคนอยู่แล้ว ต้องมานั่งรื้อข้าวของ ให้วุ่นวายกันไปหมด
ถึงปัจจุบัน
เหมือนกับว่าพระเจ้าเห็นใจ ผู้รักเทคโนโลยี จึงทำให้มีผู้คิดค้นวิธีเชื่อมต่อ Lan แบบใหม่ขึ้นมา โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงสาย ให้มันวุ่นวาย แต่คราวนี้เราจะใช้คลื่นเชื่อมแทน ฟังแค่นี้ก็ดูน่าสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหม .. ด้วยระบบเทคโนโลยี Lan ไร้สาย 802.11 จึงเกิดขึ้นมาบนโลกเบี้ยวๆใบนี้ โดยการพัฒนา จากสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และ อิเลคโทรนิค หรือ Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) นั่นเอง เลยทำให้กลายเป็นศัพท์ใหม่ที่เห็นกันบ่อยๆว่า IEEE 802.11 ซึ่งก็ได้มีการพัฒนากันมาเรื่อยจาก 802.11 ธรรมดามาเป็น 802.11b 802.11a 802.11g ซึ่งมันจะต่างกัน เรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็นหลัก ( เดี๋ยวค่อยมาเล่าต่ออีกทีว่ามันต่างกันอย่างไร )
WIFI คืออะไร
Wi-Fi ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สาย ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมันผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi  certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับ อุปกรณ์ Lan ไร้สาย ไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันติดปากเช่น Notebook ตัวนี้ หรือ PDA ตัวนี้มันมี Wi-Fi  ด้วยหละ ! นั่นก็หมายความว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้น มันสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องตัวอื่นในระบบ Network แบบไร้สายได้ โดยอยู่ภายใต้ มาตราฐานเทคโนโลยี 802.11
แล้วเลข 802.11 มันคืออะไร …… เชื่อว่ามันต้องเป็นคำถาม ต่อมาอย่างแน่นอน สำหรับเลข 802.11 นั้นก็เป็น เทคโนโลยีมาตราฐาน แบบเปิดซึ่งกำหนดโดย Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) โดยเลขหลักตัวหน้า มันจะเหมือนๆกัน แต่ความแตกต่างของเทคโนโลยี จะกำหนดด้วยตัวอักษรด้านหลัง เช่น 802.11b 802.11a 802.11g